จากกรณีพบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่าในประเทศกินี
และประเทศในแถบแอฟริกานั้น สำหรับประเทศไทย
ยังไม่เคยพบมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่ามาก่อน โรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบล่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้สูงทันทีทันได อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
ปวดกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ ตามด้วยอาการอาเจียน ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว
ในรายที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตจะมีเลือดออกง่าย
โดยอาจมีเลือดออกภายในและภายนอกร่างกายมักเกิดร่วมกับภาวะตับถูกทำราย
ไตวายหรือก่อให้เกิดอาการของระบบประสาทส่วนกลางช็อกและเสียชีวิตได้
ถึงแม้โรคนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย
แต่อาจมีประชาชนบางกลุ่ม
รวมถึงนักท่องเที่ยวเดินทางไปในประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวมีความรู้ความสามารถในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคดังกล่าว
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี จึงขอให้คำแนะนำกับประชาชน เรื่อง
การป้องก้นโรคติดเชื้อไววัสอีโบล่าสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปดังนี้
คำแนะนำสำหรับประชาชนทั่วไป
๑.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าที่นำเข้ามาโดยไม่ผ่านการตรวจโรคทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
๒.หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
โดนเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรือเมนูอาหารพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า
หรือสัตว์แปลกๆมาประกอบอาหาร
๓.
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของโรคแต่ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางให้แจ้งบุคลากรสาธารณสุขทราบเพื่อติดตามเยี่ยมเมื่อเดินทางกลับประเทศ
คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบล่า
๑.หลีกลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่า
ทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
๒.หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์ป่าที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
โดนเฉพาะสัตว์จำพวกลิง หรือค้างคาว หรือเมนูอาหารพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า
หรือสัตว์แปลกๆมาประกอบอาหาร
๓.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลั่ง
เช่น เลือด
หรือสิ่งของเครื่องใช้ผู้ป่วยที่อาจปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต
๔.หากมีอาการเริ่มป่วย
เช่นมีไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ อาเจียน ท้องเสีย
และมีผื่นนูนแดงตามตัว ให้รีบพบแพทย์ทันที
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่งานโรคติดต่อ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ๐-๓๖๔๒-๑๒๐๖ต่อ ๑๒๘,๑๒๙ และสามารถติดตามแนวทาง
คำแนะนำ และข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นปัจจุบันได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข ๑๔๒๒หรือเว็บไซด์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่กรมควบคุมโรค(http://beid.ddc.moph.go.th.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น