ประเทศไทยปี ๒๕๖๑ ผู้ป่วยสะสม
๘๕,๘๔๙ ราย อัตราป่วย ๑๒๙.๙๖ ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต ๑๑๑
ราย อัตราตายร้อยละ ๐.๑๓ จังหวัดลพบุรี ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๑,๒๒๓ ราย
อัตราป่วย ๑๖๑.๕๐ ต่อแสนประชากร พบผู้ป่วยเสียชีวิต
๑ ราย อัตราตายร้อยละ ๐.๑๓
จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ ๑–๑๕ มกราคม ๒๕๖๒ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๗๖ ราย อัตราป่วย ๑๐.๐๒ ต่อแสนประชากร ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ อำเภอโคกสำโรง (อัตราป่วย ๑๗.๕๓ ต่อแสนประชากร) อำเภอท่าหลวง (อัตราป่วย ๑๖.๙๒ ต่อแสนประชากร) และอำเภอพัฒนานิคม (อัตราป่วย ๑๖.๕๐ ต่อแสนประชากร)
จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ ๑–๑๕ มกราคม ๒๕๖๒ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๗๖ ราย อัตราป่วย ๑๐.๐๒ ต่อแสนประชากร ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ อำเภอโคกสำโรง (อัตราป่วย ๑๗.๕๓ ต่อแสนประชากร) อำเภอท่าหลวง (อัตราป่วย ๑๖.๙๒ ต่อแสนประชากร) และอำเภอพัฒนานิคม (อัตราป่วย ๑๖.๕๐ ต่อแสนประชากร)
การรายงานผลการตรวจหาชนิดเชื้อไวรัสเดงกี่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง
พบว่าในปี 2560-2561
เชื้อไวรัส Den-1 เป็นชนิดเชื้อเด่น
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีจะเห็นว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงชนิดเชื้อไวรัสเดงกีอย่างชัดเจน
โดย Den-2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ซึ่งผู้ป่วยเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อ Den-2 จึงทำให้ปี 2562 มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยและผู้ป่วยเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มี Den-2 หมุนเวียนอยู่ในปีที่ผ่านมา
พ.ศ.
DEN-1 (%) DEN-2 (%) DEN-3 (%) DEN-4 (%)
2560 47.39 17.39 2.17
33.04
2561 59.65 19.88 2.34
18.13
คาดว่าในปี 2562 ประเทศไทยจะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก
ประมาณ 94,000– 95,000 ราย
ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มการเกิดโรคใกล้เคียงกับปี 2560 ช่วงเวลาที่คาดว่าจะมีแนวโน้มของโรคไข้เลือดออกสูงขึ้น
คือ ตั้งแต่เดือนเมษายน และจะพบสูงในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน
ทำให้มีเก็บกักน้ำฝนในภาชนะต่างๆ จำนวนมาก
โดยเฉพาะภาชนะที่อยู่นอกบ้านหรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้แล้ว ส่งผลให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจำนวนมากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน
- ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป สำหรับพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการระบาดโรคไข้เลือดออกระดับอำเภอ
มีจำนวน 170
อำเภอใน 58 จังหวัด
ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในอำเภอที่มีการระบาดในปี
2561
มีโอกาสที่มีจะการระบาดต่อเนื่องในปี 2562 กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กวัยเรียน
(5-14 ปี) และวัยผู้ใหญ่ ตอนต้น (15-24
ปี)
แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่
(อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 45–54 ปี และ
60
ปีขึ้นไป มีอัตราป่วยตายสูงกว่าในวัยเด็ก
3–4 เท่า
เนื่องจากผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวเรื้อรัง
ทำให้เมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีภาวะแทรกซ้อน
เช่น ตับวาย ไตวาย
|
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานควบคุมโรค
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
๐๓๖
– ๔๒๑๒๐๖ - ๘ ต่อ ๑๒๙
|