โดยกลุ่มเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ
1. เด็กเล็กอายุต่ํากว่า 4 ขวบลงไป
2. ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
3. ผู้มีรูปร่างอ้วนหรือน้ําหนักตัวมากๆ
4. ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัว
5. ผู้ที่ต้องทํากิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน และ
6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจํา
ดังนั้นคําแนะนําคือไม่ควรสวมเสื้อผ้าหนาๆ สีทึบๆ ที่ระบายความร้อนได้ยาก และหากต้องใช้ชีวิตท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน ควรดื่มน้ําให้ได้เฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ลิตร (4 - 6 แก้ว) แต่หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในช่วงเวลา 10.00 - 15.00 น.
สําหรับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ข้อห้ามเด็ดขาดคือ "อย่าดื่มท่ามกลางอากาศร้อน" เพราะปกติแล้วเมื่อร่างกายได้รับแอลกอฮอล์ จะพยายามขับออกทางปัสสาวะ ยิ่งดื่มมากก็ ยิ่งปัสสาวะบ่อย แน่นอนว่าทําให้สูญเสียน้ําและเกลือแร่ในร่างกายไปด้วย ทําให้ร่างกายอ่อนเพลียและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เช่นเดียวกัน
"อย่าให้เด็กเล็กและคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิท" เพราะรถยนต์เป็นที่เก็บความร้อนอย่างดี ดังจะเห็นได้จากข่าวที่พ่อแม่ผู้ปกครองมักลืมบุตรหลานไว้ในรถ เมื่อกลับมาอีกทีก็เสียชีวิตไปเสียแล้วเพราะความร้อนสะสมในรถ ทั้งนี้เด็กเล็กและคนชรา ร่างกายย่อมอ่อนแอกว่าคนทั่วไปเป็นปกติ จึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
ถัดจากโรคลมแดด อีก 1 โรคภัยไข้เจ็บที่มักมากับหน้าร้อน คือ "โรคท้องร่วง" หรือ ท้องเสีย โดยในปี 2556 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยโรคท้องร่วง 1,122,991 ราย ในจํานวนนี้เสียชีวิต 12 ราย และทางสํานักระบาดวิทยา คาดการณ์ว่าตลอดฤดูร้อนในปี 2557 นี้ อาจพบผู้ป่วยได้เดือนละ 80,000 - 90,000 ราย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากสุขอนามัยที่ไม่ดี เช่น ไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่ปรุงไม่สุก หรือ อาหารที่ทําไว้ล่วงหน้าค้างคืน เป็นต้น
งานระบาดวิทยาและข่าวกรอง สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี มีความเป็นห่วงปัญหาโรคติดต่อจากอาหารและน้ํา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคท้องร่วง เนื่องจากอากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้เชื้อจุลินทรีย์หลายชนิดเจริญเติบโตได้ดี ล่าสุดเพียง 2 เดือนแรก (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี 2557 ประเทศไทยพบรายงานผู้ป่วยแล้ว 186,298 ราย เสียชีวิต 3 ราย ในจํานวนที่เสียชีวิตนี้ 1 ราย เป็นผู้ป่วยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานผลิตน้ําประปาทุกชนิดทั่วประเทศ รวมทั้งถังเก็บน้ําของชุมชน ให้ควบคุมคุณภาพน้ําประปาให้ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวคือ ให้เติมสารคลอรีนซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ให้มีความเข้มข้นในน้ํา 0.2 - 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (PPM) เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
เมื่อพูดถึงหน้าร้อน "น้ําแข็ง" ถือว่าเป็นสินค้าขายดีชนิดหนึ่ง เพราะมีการนําไปผสมเครื่องดื่มหลายชนิดเพื่อดับกระหายคลายร้อน แต่น้ําแข็งก็อาจเป็นพาหะของโรคท้องร่วงได้ โดยองค์อาหารและยา (อย.) ฝากเตือนประชาชนไว้ดังนี้
1. น้ําแข็งหลอดบรรจุถุง ต้องมีรายละเอียดครบถ้วน ทั้งยี่ห้อผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต เครื่องหมาย อย. พร้อมเลขสาระบบ อาหาร 13 หลัก และข้อความ "น้ําแข็งใช้รับประทานได้" ด้วยตัวอักษรสีน้ําเงิน
2. น้ําแข็งหลอดที่ใช้ในร้านค้า ต้องไม่เก็บไว้ปะปนกับอาหารประเภทอื่น ขณะที่เมื่อดูก้อนน้ําแข็งแล้วต้องใสสะอาด ไม่มีฝุ่นผงปนเปื้อน
3. น้ําแข็งก้อน ให้ล้างน้ําก่อนทุบหรือบดแล้วนําใส่ในภาชนะบรรจุที่สะอาด
ทั้งนี้หาก อย. ตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพจะดําเนินการตามกฎหมายทันที ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 สําหรับอาหารผิดมาตรฐาน มาตรา 25 (3) มีโทษตามมาตรา 60 คือปรับ ไม่เกิน 50,000 บาท ขณะที่หากเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มาตรา 25 (1) มีโทษตามมาตรา 58 คือ จําคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น