7 มีนาคม 2562

สถานการณ์โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ปี พ.ศ.2562

แผนภูมิแท่งแสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ปี พ.ศ.2562
เดือน ม.ค.-ก.พ.62
กราฟแสดงจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง จำแนกรายเดือน ปี 2562
เดือน ม.ค.-ก.พ.62

16 มกราคม 2562

สรุปสถานการณ์โรคไข้เลือดออก

ประเทศไทยปี ๒๕๖๑ ผู้ป่วยสะสม ๘๕,๘๔๙ ราย อัตราป่วย ๑๒๙.๙๖ ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต ๑๑๑ ราย อัตราตายร้อยละ ๐.๑๓ จังหวัดลพบุรี ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๑,๒๒๓ ราย อัตราป่วย ๑๖๑.๕๐ ต่อแสนประชากร  พบผู้ป่วยเสียชีวิต ๑ ราย อัตราตายร้อยละ ๐.๑๓
จังหวัดลพบุรี ตั้งแต่วันที่ ๑๑๕ มกราคม ๒๕๖๒ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน ๗๖ ราย อัตราป่วย ๑๐.๐๒ ต่อแสนประชากร  ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต  อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ อำเภอโคกสำโรง (อัตราป่วย ๑๗.๕๓ ต่อแสนประชากร) อำเภอท่าหลวง (อัตราป่วย ๑๖.๙๒ ต่อแสนประชากร) และอำเภอพัฒนานิคม (อัตราป่วย ๑๖.๕๐ ต่อแสนประชากร)

      การรายงานผลการตรวจหาชนิดเชื้อไวรัสเดงกี่ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง พบว่าในปี 2560-2561 เชื้อไวรัส Den-1 เป็นชนิดเชื้อเด่น แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีจะเห็นว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงชนิดเชื้อไวรัสเดงกีอย่างชัดเจน โดย Den-2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ป่วยเสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อ Den-2 จึงทำให้ปี 2562 มีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยและผู้ป่วยเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ไม่มี Den-2 หมุนเวียนอยู่ในปีที่ผ่านมา
              พ.ศ.      DEN-1 (%)      DEN-2 (%)       DEN-3 (%)        DEN-4 (%)
             2560          47.39             17.39                 2.17                 33.04
             2561          59.65             19.88                 2.34                 18.13
     คาดว่าในปี 2562 ประเทศไทยจะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ประมาณ 94,000– 95,000 ราย ซึ่งน่าจะมีแนวโน้มการเกิดโรคใกล้เคียงกับปี 2560 ช่วงเวลาที่คาดว่าจะมีแนวโน้มของโรคไข้เลือดออกสูงขึ้น คือ ตั้งแต่เดือนเมษายน  และจะพบสูงในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีเก็บกักน้ำฝนในภาชนะต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะภาชนะที่อยู่นอกบ้านหรือภาชนะที่ไม่ได้ใช้แล้ว ส่งผลให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจำนวนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในภาคใต้มักจะมีฝนตกมากในช่วงปลายปี (พฤศจิกายน - ธันวาคม) จึงมีโอกาสที่จะเกิดการระบาดในช่วงปลายปีแล้วต่อเนื่องไปยังต้นปีของปีถัดไป สำหรับพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการระบาดโรคไข้เลือดออกระดับอำเภอ มีจำนวน 170 อำเภอใน 58 จังหวัด ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในอำเภอที่มีการระบาดในปี 2561 มีโอกาสที่มีจะการระบาดต่อเนื่องในปี 2562 กลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กวัยเรียน (5-14 ปี) และวัยผู้ใหญ่  ตอนต้น (15-24 ปี) แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 45–54 ปี และ 60 ปีขึ้นไป มีอัตราป่วยตายสูงกว่าในวัยเด็ก 3–4 เท่า เนื่องจากผู้ใหญ่และผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ทำให้เมื่อป่วยเป็นไข้เลือดออกจะมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ตับวาย ไตวาย

                  สนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี
      ๐๓๖ – ๔๒๑๒๐๖ - ๘  ต่อ ๑๒๙