26 สิงหาคม 2556

โครงการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้พิการ ปี 2556

พี่อุ้ม นักกายภาพใจดี จาก ร.พ.บ้านหมี่ เป็นวิทยากรรับเชิญของเราเองครับ
   
หมอกุ้ง พยาบาลคนสวยผู้รับผิดชอบงานผู้พิการ เจ้าของโครงการ
 
  
บรรยากาศในการอบรม ผู้เข้าร่วมมีทั้งผู้พิการ ผู้ดูแล และอสม.






นักกายภาพ สอนวิธีการดูแลฟื้นฟูสภาพผู้พิการแต่ละรายถึงที่บ้าน 
และ อสม.ออกเยี่ยมบ้านผู้พิการ ดูแลต่อเนื่อง

ประมวลภาพกิจกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 25 ก.ค.56









ทำไมภาครัฐจึงไม่พ่นหมอกควันฆ่ายุงบ่อยๆ

      Admin ได้ไปอ่านเจอบทความน่าสนใจของ "ลุงหนวด หมออนามัย" ซึ่งเป็นคำถามที่ผมถูกถามอยู่บ่อยๆ เลยทีเดียว จึงขออนุญาตแชร์ในบล็อกนี้ด้วยครับ

ทำไมภาครัฐจึงไม่พ่นหมอกควันฆ่ายุงบ่อยๆ 



     หลายคนสงสัยว่าทำไมภาครัฐไม่ยอมมาพ่นควันฆ่ายุงบ่อยๆ บางคนหนักกว่านั้น ระบุไปเลยว่าเพราะคนทำงานภาครัฐขี้เกียจไม่ทำงานเชิงรุก ไม่ยอมมาพ่น

     ดังนั้น ก่อนที่เราจะจิ้นจินตนาการไปที่ทฤษฎีสมคบคิดหรือการทุจริตของข้าราชการ ผมว่าเรามารู้จักการพ่นหมอกควันดีกว่าครับ

     1. การพ่นควันเพื่อฆ่ายุง ต้องพ่น "ในบ้าน" และ "ข้างๆบ้าน" เพราะยุงลาย อาศัยในบ้านเป็นหลัก การไปพ่นลงท่อ ไปพ่นรอบบ้าน ไม่มีประโยชน์ สิ้นเปลือง
และถ้าใครเคยเจอพ่น จะรู้ว่าเหม็นมาก เสื้อผ้าที่ซักไว้ตากไว้เหม็นมากจนต้องไปซักใหม่

     2. สารเคมีที่ใช้ ยุงสามารถทนทานได้เพิ่มขึ้นทุกปี
ถ้าพ่นบ่อยเกิดไปจะทำให้ยุงดื้อยา (โดนควันเข้าไปแล้วสลบ พอผ่านไปชั่วโมงนึงบินต่อ)
ดังนั้นควรใช้ให้น้อยที่สุดครับ ไม่งั้นต่อไปเราจะเจอปรากฎการณ์ยุงที่พ่นไบกอนใส่แล้วไม่ตาย

     3. เป้าหมายการพ่น ไม่ใช่กำจัดยุง ยุงมีวงจรชีวิต 120 วัน, ลูกน้ำในน้ำ มีระยะจากไข่มาเป็นตัวยุง 7-14 วัน  เราพ่นวันนี้ เรากำจัดยุงได้หมดชุดนึง แต่ภายใน 7 วัน ยุงชุดใหม่ปริมาณเท่าเดิมจะกลับมาใหม่ ถ้าเราไม่กำจัดยุงในน้ำ

มีคำถามว่าแล้วถ้าพ่นทุกวันไปเดือนนึงล่ะ

คำตอบคือไม่ได้ผล
เพราะไข่ยุง สามารถอยู่ในระยะพักในที่ที่ไม่มีน้ำได้เป็นเดือนๆ
ดังนั้นพ่นฆ่าล้างบางยุงไป เดี๋ยวไข่ชุดใหม่ฟัก ยุงจากที่อื่นบินมา เดี๋ยวยุงก็มากเท่าเดิม



      4. เป้าหมายการพ่น คือการฆ่ายุงที่มีเชื้อไข้เลือดออก
การพ่นยา จะทำเฉพาะเมื่อมีรายงานจากโรงพยาบาลว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาการเหมือนหวัดทั่วไป ตรวจเลือดก็ไม่รู้
การตรวจเลือดเจอว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก1คน แปลว่าจริงๆมีคนเป็นไข้เลือดออกชนิดเบาๆอีกเป็น10คนในละแวกนั้น
การตรวจเลือดเจอว่ามีคนเป็นไข้เลือดออก 1 คน แปลว่ายุงในละแวกนั้นต้องมีเชื้อแน่ๆ

ดังนั้นก็จะพ่นหมอกควัน เพื่อให้ช่วง2-3วันนั้น ยุงที่มีเชื้อและบินได้ตายไปจนหมด
เป็นการรีเซ็ทให้การระบาดช้าลง

แต่ถามว่าจะป้องกันได้หมดไหม ... ยากครับ เพราะเชื้อไข้เลือดออกถ่ายทอดจากยุงตัวแม่ไปสู่ไข่ได้
ยุงที่เพิ่งขึ้นจากน้ำก็มีเชื้อได้

ดังนั้นการพ่นหมอกควัน เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
การแก้ที่ต้นเหตุคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ควบคู่ไปกับการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัดครับ







ปล. เครื่องพ่นหมอกควันที่ใช้พ่นยุง ไม่ใช่ของธรรมดาแบบเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงใน ไร่นา มีเครื่องสองแบบ คือแบบ 1 Thermal fog ใช้ความร้อนตีน้ำมันให้เป็นละอองแล้วพ่นออกมา 2 แบบULV เป็นแบบสร้างหมอกควันโดยไม่ใช้ความร้อน เครื่องพวกนี้ไม่ว่าจะแบบไหน ต่างมีราคาแพง การบำรุงรักษามาก ต้องตั้งเครื่องใหม่บ่อย(สังเกตนะครับว่าเสียงดังมากเพราะแรงสั่นเยอะ)
ปอ. ผมไม่ทราบค่าใช้จ่ายในการพ่น แต่ยาที่ใช้พ่น เคยเห็นที่ขายปลีกแล้วขวดละ 1000-2000 บาท ต้องใช้ยาราว 3-6ขวด ค่าพ่นแต่ละครั้งที่ผมกะๆเอาเองน่าจะตกราวๆ 20000-30000 บาท รวมค่าบำรุงรักษาเครื่อง ... ซึ่งคนที่เกี่ยวข้องน่าจะมาบอกตัวเลขจริงได้ครับ



     ขอขอบคุณ ลุงหนวด หมออนามัย ที่ได้อธิบายได้อย่างเข้าใจง่าย และตอบข้อสงสัยเป็นอย่างดีครับ
ปล. ภาพประกอบ Admin เพิ่มเติมเข้าไปเองนะครับ